เมนู

จิต มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมกัน (กับผัสสะเป็นต้น ) ตัณหานั้น
สหรคต เกิดร่วม เกี่ยวข้อง สัมปยุต มีความเกิดร่วมกัน มีความดับ
ร่วมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันกับด้วยจิตคือใจ แม้เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่มี ณ ภายใน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาอย่างใด
อย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน.

ว่าด้วยผู้มีสติโดยเหตุ 4


[708] คำว่า ในกาลทุกเมื่อ ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา
เพื่อกำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ
ความว่า ในกาลทุกเมื่อ ใน
กาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดกาลเป็นนิตย์ ตลอดกาลยั่งยืน
ตลอดกาลนิรันดร์ ตลอดกาลเป็นอันเดียว ตลอดกาลติดต่อ ตลอดกาล
เป็นลำดับ ตลอดกาลไม่ขาดระยะ ตลอดกาลไม่มีระหว่าง ตลอดกาลสืบ
เนื่อง ตลอดกาลไม่ขาดสาย ตลอดกาลกระชั้นชิด ในกาลก่อนภัต ใน
กาลหลังภัต ในยามต้น ในยามกลาง ในยามหลัง ในข้างแรม ในข้าง
ขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ในตอนวัยต้น ในตอนวัยกลาง
ในตอนวัยหลัง.
คำว่า ผู้มีสติ ได้แก่ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ 4 อย่าง คือเมื่อเจริญ
กายานุปัสสนาสติปัฏฐานในกาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนา-
สติปัฏฐานในเวทนาทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนา-
สติปัฏฐานในจิต ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานใน
ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ 4.

อีกประการหนึ่ง คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้
ไม่มีสติ เพราะเป็นผู้กระทำธรรมทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ เพราะเป็นผู้
กำจัดธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมอันเป็น
นิมิตแห่งสติ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ 4.
อีกประการหนึ่ง คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วย
สติ เป็นผู้อยู่ด้วยสติ เพราะเป็นผู้คล่องแคล่วด้วยสติ เพราะเป็นผู้ไม่
หวนกลับจากสติ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ 4.
อีกประการหนึ่ง คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ระลึกได้ เพราะ
เป็นผู้สงบ เพราะเป็นผู้ระงับ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ
ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ
จาตานุสสติ เทวดานุสสติ อานาปานสติ มรณสติ กายคตาสติ อุปสมา-
นุสสติ.
ความระลึก ความระลึกถึง ความระลึกเฉพาะ ความระลึก กิริยา
ที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์
สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค นี้เรียกว่าสติ บุคคล
เป็นผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม
ประกอบด้วยสตินี้ บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้มีสติ.
คำว่า พึงศึกษา ได้แก่สิกขา 3 คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา.
อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้
สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยใน
โทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์

น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีลเป็นที่ตั้ง เป็นเบื้องต้น เป็นเบื้องบาท เป็นความ
สำรวม เป็นความระวัง เป็นปาก เป็นประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วย
กุศลธรรมทั้งหลาย นี้ชื่อว่าอธิศีลสิกขา.
อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
อยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุด
ขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุ
ให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา.
อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา
ประกอบด้วยปัญญาอันให้ถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรก
กิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
เหล่านั้นอาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับอาสวะ นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา.
คำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้น ใน
กาลทุกเมื่อ
ความว่า ภิกษุพึงศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง
คือ เมื่อนึกถึงสิกขาทั้ง 3 นี้ ก็พึงศึกษา เมื่อรู้ก็พึงศึกษา เมื่อเห็นก็
พึงศึกษา เมื่อพิจารณาก็พึงศึกษา เมื่อตั้งจิตก็พึงศึกษา เมื่อน้อมใจเธอ

ด้วยศรัทธาก็พึงศึกษา เมื่อประกอบความเพียรก็พึงศึกษา เมื่อเข้าไปตั้งสติ
ก็พึงศึกษา เมื่อตั้งจิตก็พึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญาก็พึงศึกษา เมื่อรู้ยิ่ง
ซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งก็พึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ก็พึงศึกษา
เมื่อละธรรมที่ควรละก็พึงศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญก็พึงศึกษา
เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งก็พึงศึกษา คือประพฤติ ประพฤติ
เอื้อเฟื้อ ประพฤติด้วยดี สมาทานประพฤติ เพื่อกำจัด กำจัดเฉพาะ
ละ สงบ สละคืน ระงับซึ่งตัณหาเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ
พึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ เพราะเหตุ-
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุฟังคำจัดบาป
ธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่อง
เนิ่นช้าและอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ก็ตัณหาอย่างใดอย่าง
หนึ่งที่มี ณ ภายใน ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา เพื่อกำจัดซึ่ง
ตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ.

[709] ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน
หรือเป็นภายนอก ไม่พึงทำความถือตัวด้วยคุณธรรมนั้น
เพราะการทำความถือตัวนั้น อันผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่า
เป็นความดับกิเลส.

[710] คำว่า ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน
ความว่า ภิกษุพึงรู้คุณธรรมของตนอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นกุศลธรรม หรือ
เป็นอัพยากตธรรม.

คุณธรรมของตนเป็นไฉน ? ภิกษุเป็นผู้ออกบวชจากสกุลสูงบ้าง
ออกบวชจากสกุลใหญ่บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมากบ้าง ออก
บวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่บ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียงมียศกว่าคฤหัสถ์และ
บรรพชิตทั้งหลาย เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย.
เภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงพระวินัยบ้าง เป็นธรรม-
กถึกบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
บ้าง ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง ถือการทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง
ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง ถือการไม่ฉันภัตหน
หลังเป็นวัตรบ้าง ถือการไม่นอนเป็นวัตรบ้าง ถือการอยู่ในเสนาสนะ
ที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง ได้ทุติยฌานบ้าง
ได้ตติยฌานบ้าง ได้จตุตถฌานบ้าง ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง
ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง ได้เนว-
สัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง คุณธรรมเหล่านี้เรียกว่า คุณธรรมของ
ตน.
ภิกษุพึงรู้ รู้ทั่ว รู้ชัด รู้แจ่มแจ้ง แทงตลอดซึ่งคุณธรรมของตน
อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่าง
หนึ่งที่เป็นภายใน.
คำว่า หรือเป็นภายนอก ความว่า คุณธรรมเหล่านั้น เป็นของ
พระอุปัชฌายะหรืออาจารย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือเป็นภายนอก.
[711] คำว่า ไม่พึงทำความรุนแรงด้วยคุณธรรมนั้น ความว่า
ภิกษุไม่พึงทำความรุนแรง คือไม่พึงทำความกระด้าง ไม่พึงทำความถือตัว
ไม่พึงทำความเย่อหยิ่ง ไม่พึงทำความจองหอง ด้วยคุณธรรมของตน

หรือด้วยคุณธรรมของคนเหล่าอื่น ไม่พึงให้ความถือตัวเกิดด้วยคุณธรรม
นั้น ไม่พึงเป็นผู้กระด้างจองหองหัวสูงด้วยคุณธรรมนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ไม่พึงทำความรุนแรงด้วยคุณธรรมนั้น.
[712] คำว่า เพราะทำความรุนแรงนั้น อันผู้สงบทั้งหลาย
กล่าวว่าเป็นความดับกิเลส
ความว่า การทำความรุนแรงนั้น อันพระ-
พุทธเจ้า พระพุทธสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นสัตบุรุษ ไม่กล่าว
ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่บัญญัติ ไม่แต่งตั้ง ไม่เปิดเผย ไม่จำแนก
ไม่ทำให้ตื้น ไม่ประกาศว่าเป็นความดับกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เพราะการทำความรุนแรงนั้น อันผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่าเป็นความดับ
กิเลส เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน หรือ
ภายนอก ไม่พึงทำความรุนแรงด้วยคุณธรรมนั้น เพราะ
การทำความรุนแรงนั้น อันผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่าเป็น
ความดับกิเลส.

[713] ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา ว่าต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่า
เสมอเขา ด้วยคุณธรรมนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมด้วยคุณ-
ธรรมเป็นอเนก ไม่พึงกำหนดตนดำรงอยู่.


ว่าด้วยมานะ (ความสำคัญตัว)


[714] คำว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา . . .ด้วยคุณธรรม
นั้น
ความว่า ภิกษุไม่พึงยังความถือตัวให้เกิดว่า เราเป็นผู้ดีกว่าเขา ด้วย